เช็กด่วน กำลังมีพฤติกรรมเสี่ยง “ฝีดาษลิง” อยู่หรือเปล่า 

People with monkeypox on isolated background, A person from back with monkeypox on his body, Monkeypox virus concept, Monkeypox virus outbreak pandemic design

ข่าวระบาดฝีดาษลิงเป็นระลอก ๆ แม้จะไม่ได้หนักหน่วงอย่างโควิด 19 แต่ต้องถือว่าเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน โดยล่าสุดได้มีการพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงกว่า 19 จังหวัด โดยมีพื้นที่สีแดง ถึง 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ นนทบุรี และชลบุรี โดยผู้ติดเชื้อรวมกันแล้วอยู่ในหลักร้อย อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงแล้ว 1 ราย จากที่เคยมีผู้ป่วยอยู่ในหลักสิบคนเท่านั้น 

แต่แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป แต่ควรตระหนักและไม่ทำให้ตัวเองตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดส่วนใหญ่มักจะเป็นเพศชาย แทบจะไม่มีผู้ป่วยเพศหญิงเลย อันเนื่องมาจากสาเหตุของการติดเชื้อฝีดาษลิง ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมทางเพศที่ไม่มีความปลอดภัย และไม่เหมาะสม 

ภาพจาก : https://scitechdaily.com/images/Monkeypox.jpg

โรคฝีดาษลิงคืออะไร 

ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง ภาษาอังกฤษ Monkeypox คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus ของวงศ์ Poxviridae ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อเหล่านี้ในพาหะที่เป็นสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นต้น แต่ค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ทำให้เป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง” นั่นเอง 

การติดต่อเชื้อฝีดาษลิง 

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน และ คนสู่คน ด้วยการสัมผัสผ่านผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้เป็นพาหะและติดเชื้อ รวมไปถึงวัสดุปนเปื้อนเชื้อไวรัส 

ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงมีอาการอย่างไร

ผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง มักจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีระยะเวลาฟักตัวของประมาณ 7 – 14 วัน โดยผู้ติดเชื้อจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ 

  • มีไข้ หรือ ไข้สูง
  • ปวดกระบอกตา 
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ 
  • มีผื่นหรือตุ่มหนองตามตัว หลังจากมีไข้ประมาณ 2 – 3 วัน 
  • ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว 
ภาพจาก https://news.llu.edu/

ใครบ้างมีความเสี่ยงติดเชื้อฝีดาษลิง

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย เช่น การไม่สวมถุงยางอนามัย 
  • ผู้ติดเชื้อทางเพศ เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม เริม ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เป็นต้น 
  • ผู้ป่วยหรือติดเชื้อ HIV 
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ 
ภาพจาก https://www.livemint.com/

ป้องกันตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากฝีดาษลิง 

โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อ การป้องกันได้ดีที่สุด จึงต้องอยู่ให้ห่างไกลจากสัตว์ที่เป็นพาหะของเชื้อ รวมทั้งอยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ส่วนผู้ติดเชื้อเองก็ควรปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ไปแพร่กระจายโรคแก่ผู้อื่นให้ขยายเป็นวงกว้าง โดยวิธีป้องกันและวิธีการดูแลตัวเอง ทำได้ดังนี้ 

  • ไม่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ อย่าง ลิง และสัตว์ฟันแทะต่าง ๆ หนู กระรอก กระแต รวมถึงไม่สัมผัสกับสัตว์ป่วย 
  • ไม่สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เลือด ตุ่มหนอง ของสัตว์ป่า สัตว์ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง 
  • หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ 
  • ใส่หน้ากากอนามัยเสมอ เมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรืออยู่ในบริเวณที่มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์อยู่เสมอ 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ เพื่อลดความเสี่ยง เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันฝีดาษลิงโดยตรง 

แม้ว่าโรคฝีดาษลิงยังเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่ระบาดรุนแรงเท่าโควิด 19 แต่ไม่ควรประมาท และควรตระหนักในเรื่องของการป้องกันตนเอง และศึกษาข้อมูลในการรับมือ เพื่อจะได้ผ่อนหนักให้เป็นเบา เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าโรคฝีดาษลิงจะระบาดรุนแรงหรือไม่ การเตรียมพร้อมจึงย่อมดีกว่าการแก้ไขในเวลาที่สายไปแล้ว 

You May Also Like
Read More

3 เครื่องมือเช็คอันดับเว็บไซต์ SEO Ranking ฟรี มีอะไรบ้าง 

ธุรกิจกับการตลาดย่อมคู่กัน เพราะการโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ยิ่งปัจจุบัน การใช้ SEO หรือ Search Engine Optimization ในทำการตลาดเป็นสิ่งจำเป็น หลายธุรกิจที่มีเว็บไซต์จึงเลือกใช้บริการเอเจนซี่รับทำ SEO และเมื่อทำไปสักระยะหนึ่งแล้ว ย่อมต้องการวัดผลด้วยการเช็ค SEO อันดับเว็บไซต์ของตนเป็นอย่างไร   การเช็คอันดับเว็บไซต์…
Read More
Read More

ทำไมเราควรกำจัดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ เพื่อลดขยะไปสู่หลุมฝังกลบ

ในไทยมีขยะมากถึง 25 ล้านต้น/ปี และ 28% ถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง และปลายทางของขยะเหล่านั้นจะไปกองรวมกันอยู่ที่หลุมฝังกลบ ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย
Read More
Read More

อาการไอแห้งเกิดจากอะไร และการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการไอแห้ง

ช่วงฤดูฝนแบบนี้ ทำให้หลายคนมีอาการไอแห้ง หรืออาการไอไม่มีเสมหะ (Non-Productive Cough) ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาการไอแห้งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งอาการแพ้ มีการติดเชื้อ มีอาการระคายเคืองในลำคอ หรือ อาการไอจากการสูบบุหรี่ และบางครั้งอาการไอแห้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บคอ และอาจมีอาการไอรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน …
Read More
Read More

เก็บขนมปังอย่างไรให้ได้นาน หอมนุ่มอร่อย ไม่ให้ขนมปังขึ้นราง่าย

ขนมปัง อาหารยอดนิยมของใครหลาย ๆ คน เพราะขนมปังทานคู่กับอะไรก็อร่อย ทานเป็นอาหารเช้าคู่กับไข่ดาวหรือออมเล็ต หรือขนมว่างยามบ่าย ขนมปังปิ้งทาเนย ก็สะดวก ทานง่าย และอิ่มได้แบบง่าย ๆ ทำให้หลาย ๆ บ้านมักมีขนมปังติดบ้านไว้ นึกอะไรไม่ออกหรือชั่วโมงเร่งรีบ ก็หยิบขนมปังมาทานได้เลย แต่ปัญหาของขนมปังที่ทุกคนต้องเคยเจอ…
Read More
Read More

พารู้จักสุราท้องถิ่น อีสานบ้านเฮา 

จากกระแส สุราก้าวหน้า ที่มีนโยบายมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร และช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรให้มีรายได้ จนเกิดปรากฏการณ์สุราพื้นเมืองของไทยขายดีจนหมดเกลี้ยงไปหลายโรงงานและผลิตใหม่กันไม่ทัน เพราะมีข้อจำกัดในการผลิต วันนี้เราจะมาพารู้จักสุราท้องถิ่นแดนอีสาน แบรนด์ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัดมีอะไรกันบ้าง  สาคู (Saku) จ.นครราชสีมา  สุราชุมชนจากเขาใหญ่ สาคู (Saku) ที่มีการทดลองทำมาแล้วถึง 3 ปี แต่ได้รับอนุญาตเมื่อเดือนกันยายน…
Read More
Read More

พารู้จัก หมึกบลูริง พิษร้ายกว่างู เผลอกินถึงตาย 

เตือนภัย! สำหรับสาวกปลาหมึก หรือผู้ที่ชื่นชอบการกินปลาหมึก โดยเฉพาะปลาหมึกย่าง ควรสังเกตลักษณะปลาหมึกให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อหรือก่อนจะกินเข้าไป หากพบว่าปลาหมึกมีลักษณะเป็นลายวงกลม สีน้ำเงิน และเรืองแสงได้ ให้หลีกเลี่ยงด่วน เพราะอาจเป็น ปลาหมึกบลูริง ซึ่งเป็นหมึกอันตรายมาก มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่า! หากกินเข้าไปอาจมีอาการแพ้พิษรุนแรงจนเสียชีวิตได้  หมึกบลูริง (Blue-ringed…
Read More