ทำไมเราควรกำจัดขยะอาหารให้เป็นศูนย์ เพื่อลดขยะไปสู่หลุมฝังกลบ

ในไทยมีขยะมากถึง 25 ล้านต้น/ปี และ 28% ถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง และปลายทางของขยะเหล่านั้นจะไปกองรวมกันอยู่ที่หลุมฝังกลบ ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย

ปัจจุบันคนทั่วโลกเริ่มหันมาใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คนไทยเองก็เช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของ “ขยะ” เพราะในประเทศไทยมีขยะเพิ่มขึ้นถึง 25 ล้านต้น / ปี จากที่ก่อนหน้านี้มีการทิ้งขยะในบ้านเราเฉลี่ยต่อปี 10 ล้านตัน

หากเฉลี่ยเป็นรายบุคคล นั่นหมายความว่าคนไทยทิ้งขยะ 145 กิโลกรัม / ปี และในขยะ 28% ที่นำไปกำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปลายทางของขยะส่วนใหญ่จะไปกองรวมกันอยู่ที่ หลุมฝังกลบ ที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 1,500 แห่ง ซึ่งมากกว่าสถานที่กำจัดขยะในรูปแบบอื่น ๆ 

จากปริมาณขยะทั้งหมด มากกว่า 60% คือ ขยะอาหาร ที่ถูกนำมายังหลุมฝังกลบ ซึ่งถือว่าสร้างปัญหาและผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะการย่อยสลายของขยะอาหารที่เป็นอินทรีย์วัตถุธรรมชาติ จะมีการปล่อยก๊าซต่าง ๆ โดยเฉพาะ ก๊าซมีเทน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ที่มีส่วนทำให้โลกร้อน (Global Warming) มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 30 เท่า เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน จนทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน (Climate Change) ภัยธรรมชาติ และอุณหภูมิโลกผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือมนุษย์

หากไม่นับรวมการกำจัดขยะในรูปแบบอื่น อย่างการคัดแยกขยะรีไซเคิล การเผาขยะเปลี่ยนเป็นพลังงาน หรือการแปรรูปขยะให้เป็นปุ๋ย หลุมฝังกลบ คือ สถานที่กำจัดขยะที่เป็นปลายทางสุดท้าย โดยนำขยะมากองรวมกัน แล้วใช้เครื่องจักรบดอัดทับซ้ำ ๆ เพื่อให้ขยะยุบตัวลง ถือว่าเป็นวิธีกำจัดขยะที่มีขั้นตอนยุ่งยากน้อยที่สุด แต่เมื่อขยะปลายทางมากองรวมกันมากเท่าไร การจัดการก็ยากตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หลุมฝังกลบที่ทำถูกหลักมีเพียง 72 แห่งเท่านั้น นอกนั้นเป็นสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี หากระบบจัดการขยะไม่ดี ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย 

มลภาวะทางกลิ่น 

ขยะมูลฝอยที่ถูกนำมากองทับถมรวมกัน ย่อมเกิดมลภาวะทางกลิ่นลอยฟุ้งไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะขยะอาหาร กลิ่นเหม็นเน่าจากปฏิกิริยาการย่อยสลายระหว่างอินทรีย์วัตถุและแบคทีเรีย รวมไปถึงเชื้อรา กลายเป็นมลพิษทางกลิ่น ยิ่งปริมาณขยะเปียกมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้กลิ่นขยะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้บริเวณหลุมฝังกลบ จากการได้รับก๊าซมีเทนจำนวนมาก และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

เป็นแหล่งพาหะนำโรค 

ขยะอาหารที่ไม่มีการจัดการที่ดี เมื่อมากองรวมกัน ทำให้เป็นศูนย์รวมพาหะนำโรค ทั้ง มด หนู แมลง สัตว์จรจัด กลายเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรคต่าง ๆ จากการหมักหมมของขยะ อาจนำพามาสู่ความเจ็บป่วยต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

การปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ 

หลุมฝังกลบส่วนใหญ่มีลักษณะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ไม่มีการติดตั้งระบบกรองหรือกำจัดน้ำเสีย ป้องกันขยะมูลฝอยและสารเคมีหลุดลอดออกไปปนเปื้อนระบบนิเวศ ทำให้ไหลซึมลงสู่ชั้นดิน และมีการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์น้ำ

เสี่ยงการเกิดไฟไหม้ 

หลุมฝังกลบเป็นที่รวมขยะทุกประเภท รวมถึงขยะอันตราย ตั้งแต่ บรรจุภัณฑ์สารเคมี อุปกรณ์ของมีคม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย สายไฟ เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ได้ง่าย และก่อให้เกิดควันพิษที่มีสารเคมีเจือปน เป็นอันตรายต่อผู้อาศัยใกล้ในแหล่งชุมชน บริเวณใกล้เคียง และยังเป็นมลภาวะพิษต่อโลก ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก 

หากกำจัดขยะเศษอาหารออกไปตั้งแต่ต้นทาง จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากบ่อขยะโดยตรง อีกทั้งทำให้เหลือขยะประเภทอื่น ๆ ที่สามารถนำไปกำจัดหรือจัดการต่อได้อย่างถูกวิธี โดยขยะอีกเกือบ 20% ที่สามารถรีไซเคิล นำกลับมาใช้ต่อได้ และขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น แปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง เพื่อใช้ในครัวเรือน เกษตรกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

การลดปริมาณขยะอาหาร

การตัดต้นทางของขยะอาหาร สู่ปลายทางอย่างบ่อขยะ เริ่มได้ง่าย ๆ จากการแยกเศษอาหารออกจากขยะประเภทอื่น ๆ เพื่อไม่ให้ขยะเศษอาหารปนเปื้อนขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์ของขยะได้มากขึ้น

ซึ่งขยะเศษอาหารที่ถูกแยกต่างหาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายทาง เช่น เศษอาหารที่ยังกินได้ให้กับสัตว์จรจัด สุนัข แมว สุกร หรือจะนำส่งโรงงานนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์สำเร็จรูป ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หากเป็นบ้านที่มีบริเวณกว้าง หรือมีพื้นที่สวนหลังบ้าน อาจเลือกทำเป็นถังหมักปุ๋ย ซึ่งนิยมทำกันมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะได้กำจัดขยะอาหารภายในบ้าน ไม่ต้องส่งไปยังหลุมฝังกลบ ยังได้ปุ๋ยออแกนิกบำรุงดิน บำรุงพืช ประหยัดค่าใช้จ่าย และได้พืชปลอดสารเคมี 

แต่การทำปุ๋ยออแกนิกจากขยะอาหารใช่ว่าจะทำได้ง่าย ๆ กันทุกครัวเรือน เพราะรูปแบบอาศัยยุคนี้ ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่น้อย เช่น ตึกพาณิชย์ คอนโด อพาร์ทเม้นท์ ห้องเช่า การจะทำปุ๋ยหมักอาจไกลเกินตัวไป ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ อาทิ Hass เครื่องย่อยเศษอาหาร เพื่อช่วยลดปริมาณขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบ และสามารถตอบโจทย์กับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้ตัดขยะอาหารตั้งแต่ต้นทางได้ 100% อย่างแสนง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากมาย และไม่ต้องเสียเวลารอกระบวนการย่อยสลายนาน ๆ อย่างการหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิม ทำให้การรักษ์โลกนั้นง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น ช่วยลดปริมาณขยะจากต้นทางสู่หลุมฝังกลบ ให้มีจำนวนน้อยลง เหลือเพียงขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิล และขยะที่ต้องกำจัดทิ้งเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

รู้อย่างนี้แล้ว เรามาร่วมกันลดขยะจากต้นทางสู่หลุมฝังกลบกันเถอะ โดยการกำจัดขยะอาหารภายในบ้านให้เป็นศูนย์ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน 

You May Also Like
Read More

แจก 3 เมนูทำง่าย ๆ ช่วยลดการทิ้งวัตถุดิบให้กลายเป็นขยะอาหาร

แจก 3 เมนูอาหารล้างตู้เย็น ที่สามารถดัดแปลงวัตถุดิบเหลือ ๆ ให้เป็นอาหารสุขภาพ ทำง่าย ไม่ต้องทิ้ง และยังได้ช่วยรักษ์โลกอีกด้วยค่ะ  
Read More
Read More

อาการไอแห้งเกิดจากอะไร และการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการไอแห้ง

ช่วงฤดูฝนแบบนี้ ทำให้หลายคนมีอาการไอแห้ง หรืออาการไอไม่มีเสมหะ (Non-Productive Cough) ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และอาการไอแห้งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งอาการแพ้ มีการติดเชื้อ มีอาการระคายเคืองในลำคอ หรือ อาการไอจากการสูบบุหรี่ และบางครั้งอาการไอแห้งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการเจ็บคอ และอาจมีอาการไอรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน …
Read More
Read More

เก็บขนมปังอย่างไรให้ได้นาน หอมนุ่มอร่อย ไม่ให้ขนมปังขึ้นราง่าย

ขนมปัง อาหารยอดนิยมของใครหลาย ๆ คน เพราะขนมปังทานคู่กับอะไรก็อร่อย ทานเป็นอาหารเช้าคู่กับไข่ดาวหรือออมเล็ต หรือขนมว่างยามบ่าย ขนมปังปิ้งทาเนย ก็สะดวก ทานง่าย และอิ่มได้แบบง่าย ๆ ทำให้หลาย ๆ บ้านมักมีขนมปังติดบ้านไว้ นึกอะไรไม่ออกหรือชั่วโมงเร่งรีบ ก็หยิบขนมปังมาทานได้เลย แต่ปัญหาของขนมปังที่ทุกคนต้องเคยเจอ…
Read More
Read More

พารู้จักสุราท้องถิ่น อีสานบ้านเฮา 

จากกระแส สุราก้าวหน้า ที่มีนโยบายมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร และช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรให้มีรายได้ จนเกิดปรากฏการณ์สุราพื้นเมืองของไทยขายดีจนหมดเกลี้ยงไปหลายโรงงานและผลิตใหม่กันไม่ทัน เพราะมีข้อจำกัดในการผลิต วันนี้เราจะมาพารู้จักสุราท้องถิ่นแดนอีสาน แบรนด์ขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัดมีอะไรกันบ้าง  สาคู (Saku) จ.นครราชสีมา  สุราชุมชนจากเขาใหญ่ สาคู (Saku) ที่มีการทดลองทำมาแล้วถึง 3 ปี แต่ได้รับอนุญาตเมื่อเดือนกันยายน…
Read More
Read More

พารู้จัก หมึกบลูริง พิษร้ายกว่างู เผลอกินถึงตาย 

เตือนภัย! สำหรับสาวกปลาหมึก หรือผู้ที่ชื่นชอบการกินปลาหมึก โดยเฉพาะปลาหมึกย่าง ควรสังเกตลักษณะปลาหมึกให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อหรือก่อนจะกินเข้าไป หากพบว่าปลาหมึกมีลักษณะเป็นลายวงกลม สีน้ำเงิน และเรืองแสงได้ ให้หลีกเลี่ยงด่วน เพราะอาจเป็น ปลาหมึกบลูริง ซึ่งเป็นหมึกอันตรายมาก มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่า! หากกินเข้าไปอาจมีอาการแพ้พิษรุนแรงจนเสียชีวิตได้  หมึกบลูริง (Blue-ringed…
Read More
Read More

เช็กด่วน กำลังมีพฤติกรรมเสี่ยง “ฝีดาษลิง” อยู่หรือเปล่า 

ข่าวระบาดฝีดาษลิงเป็นระลอก ๆ แม้จะไม่ได้หนักหน่วงอย่างโควิด 19 แต่ต้องถือว่าเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน โดยล่าสุดได้มีการพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงกว่า 19 จังหวัด โดยมีพื้นที่สีแดง ถึง 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ นนทบุรี และชลบุรี โดยผู้ติดเชื้อรวมกันแล้วอยู่ในหลักร้อย อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคฝีดาษลิงแล้ว…
Read More